Health

  • ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศ
    ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศ

    ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

    ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรม ลักษณะการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งอยู่หน้าคอมในท่าเดิมเป็นเวลานาน ขาดการเคลื่อนไหว เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับไปไหน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ค้างในท่าเดิม กล้ามเนื้อบางส่วนถูกยืดค้าง ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

    ออฟฟิศซินโดรม

    สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

    เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น

    อาการของออฟฟิศซินโดรม

    มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ ตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

    วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

    – หมั่นออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย
    – ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
    – เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเสียใหม่ โดยจากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ให้หาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมงกำลังดี

    อาการแบบไหนที่เข้าข่ายผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

    – เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยคุณไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก

    – มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน

    – ปวดหลัง เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อีกทั้งวิธีท่านั่งก็ไม่ถูกสรีระซะทีเดียว โดยผู้มีอาการมักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน

    – มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ

    – ตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

    – มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ โดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมือ (De Quervain’s disease) อักเสบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนได้อีกด้วย (CTS / Carpal Tunnel Syndrome)

    การรักษาออฟฟิศซินโดรม

    การรักษากลุ่มอาการ ออฟฟิศซินโดรม นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพื่อรักษาการปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

    ที่มา

    thainakarin.co.th

    allwellhealthcare.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ quoteorama.com

     

Economy

  • ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม
    ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม

    ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม อันเดอร์ไรท์ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน

    ก.ล.ต.เผยวิธีจัดสรรหุ้นไอพีโอ ชี้การกระจายหุ้นให้นักลงทุนรายใหญ่เป็นไปตามเกณฑ์ผู้จัดจำหน่ายจัดสรรตามวอลุ่ม ชี้ อันเดอร์ไรท์ มีหน้าที่เปิดเผยรายชื่อให้นักลงทุนรับทราบก่อนเข้าลงทุน

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้เผยแพร่บทความการจัดสรรหุ้นไอพีโอ และนำเสนอข้อมูลของผู้จัดจำหน่าย โดย ก.ล.ต. เผยว่า หุ้นที่ออกใหม่และเสนอขายต่อประชาชน (IPO) ยังเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการออกหุ้น IPO ถือเป็นกลไกหนึ่งในการระดมทุนของภาคธุรกิจจากประชาชนเพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายกิจการ ขณะที่ประชาชนก็มีโอกาสลงทุนในหุ้นก่อนที่หุ้นนั้นจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การจัดสรรหุ้นเพื่อให้การระดมทุนสัมฤทธิผลจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ

    บริษัทมหาชนจำกัดที่มีการออกและเสนอขายหุ้น IPO (issuer) จะร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รับจองและจัดสรรหุ้น ที่เรียกว่า “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือ underwriter ในการกำหนดสัดส่วนการเสนอขายหุ้น IPO ให้กับผู้ลงทุนในกลุ่มต่างๆ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมทั้งด้านปัจจัยพื้นฐานและความเสี่ยงของบริษัทที่เสนอขาย เพื่อให้บริษัทระดมทุนได้ครบถ้วนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และสามารถนำเงินไปใช้ตามแผนงานของบริษัทต่อไปตามที่ได้เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวนก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม อันเดอร์ไรท์ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน

    การจัดสรรหุ้น IPO แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

    (1) กลุ่มที่บริษัท issuer เป็นผู้จัดสรร เช่น การจัดสรรให้กรรมการพนักงาน บุคคลที่มีความสัมพันธ์ (Related Persons: RP) หรือผู้มีอุปการคุณที่สร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้แก่บริษัท เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีความคุ้นเคยกับ issuer ก.ล.ต. จึงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้น IPO สำหรับการจัดสรรให้กับผู้มีอุปการคุณ โดยมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย และเมื่อรวมกับกรรมการพนักงานและ RP จะต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย เพื่อให้มีการกระจายหุ้น IPO ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปอย่างเพียงพอ ไม่กระจุกตัวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่ง สอดคล้องกับแนวทางการจัดสรรหุ้น IPO ของต่างประเทศ

    (2) กลุ่มที่ underwriter เป็นผู้จัดสรร กลุ่มนี้ถือเป็นสัดส่วนหลักของการจัดสรรหุ้น IPO โดยมี underwriter ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทที่เสนอขายกับผู้ลงทุนทั่วไป และจะเป็นผู้พิจารณาจัดสรรหุ้น และให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนแก่ผู้จองซื้อหุ้น ที่ผ่านมาการจัดสรรหุ้นของ underwriter จะเป็นการจัดสรรให้แก่ลูกค้าของ underwriter เป็นหลัก เช่น ลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น โดยการจัดสรรจะเป็นไปตามปัจจัยหรือเงื่อนไข (criteria) ที่ underwriter กำหนด เช่น สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากลูกค้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น จึงมักพบว่าผู้ลงทุนรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับการจัดสรรหุ้น IPO

    ส่วนกรณีที่การระดมทุนของ issuer อยู่ในความสนใจของผู้ลงทุนสถาบัน (institutional investor) ทั้ง issuer และ underwriter ก็อาจจัดสรรหุ้น IPO ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ในการจัดสรรหุ้น underwriter ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

    เช่น ห้ามจัดสรรหุ้นให้บริษัทย่อยของ issuer หรือกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของ underwriter รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับ underwriter ด้วย อย่างไรก็ดี underwriter อาจต้องรับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือเข้าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทเองด้วยหากไม่สามารถจัดสรรได้ตามจำนวนที่สัญญากำหนด

    ทั้งนี้ บริษัทที่เสนอขายหุ้น IPO และ underwriter จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้น IPO ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์การจัดสรร ชื่อกลุ่มบุคคลที่จะได้รับจัดสรร และสัดส่วนหรือจำนวนหุ้น IPO ที่จะได้รับจัดสรรไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบข้อมูล และนำไปประกอบการตัดสินใจลงทุน

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : quoteorama.com